วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มการค้าและการผลิตของสินค้าสิ่งทอและเครื่องแต่งกายในตลาดโลก..

        ผลผลิตของสินค้าสิ่งทอจากสหรัฐอเมริกาลดลง 2.6% ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2545 ในขณะที่ผลผลิตของสินค้าเครื่องแต่งกายลดลง 7.4%  และการส่งออกของสหรัฐฯลดลง แม้ว่าค่าเงินสกุลดอลล่าร์จะอ่อนค่าลงแต่ความต้องการสินค้าจากตลาดในประเทศลดลงเช่นโดยผลกระทบต่อราคาเครื่องนุ่งห่มในประเทศให้ลดลงมาโดยตลอดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา   การนำเข้าของสหรัฐฯยังคงผันผวน โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศจีนเนื่องมาจากการจัดสรรโควต้าเพื่อการเปิดการค้าเสรี  นอกจากนี้ความความผันผวนของความต้องการและการแข่งขันจากประเทศจีนส่งผลกระทบต่อการส่งออกจากประเทศเม็กซิโกด้วย   สำหรับอุตสาหกรรมของประเทศอาร์เจนตินาได้รับผลกระทบด้วยแม้ว่าค่าเงินสกุลเปโซจะลดลง นอกจากนี้วิกฤตการณ์ในประเทศอาร์เจตินายังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศบราซิล  ยอดขายเพื่อการส่งออกของโคลัมเบียเพิ่มขึ้นในตลาดแอนเดียนแต่การส่งออกไปสหรัฐฯและสหภาพยุโรปกลับลดลง


ทิศทางสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศมาเลเซีย

        อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายในประเทศมาเลเซียมีการผลิตแบบครบวงจร ซึ่งได้แก่ การผลิตเส้นใยโพลิเมอร์ การผลิตเส้นใยประดิษฐ์ การปั่นด้าย การทอ การถัก การพิมพ์ การย้อม การตกแต่งสำเร็จและการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป  การส่งออกมีการเติบโตอย่างมีนัยตลอดมา  โดยในปี 2544  การส่งออกเส้นด้ายและผ้าผืนมีมูลค่า 4,011 ล้านดอลล่าร์มาเลเซีย ( 1,056 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)   ในขณะที่ยอดขายของเครื่องแต่งกายเติบโตถึง 7,868 ล้านดอลล่าร์มาเลเซียรัฐบาลมาเลเซียได้มีการพัฒนาสาธารณูปโภคซึ่งเป็นการดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน  ไม่ว่าจะเป็น บริษัท Penfabric Textile Group  ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของวงการในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทในเครือของประเทศญี่ปุ่น คือ บริษัท โทเร ซึ่งผลิต เส้นด้าย ผ้าผืนและเส้นใยโพลิเอสเตอร์สำหรับการผลิตเส้นด้าย  บริษัท Hualon ของประเทศไต้หวัน ซึ่งผลิตเส้นด้ายและผ้าผืนจากเส้นใยโพลิเอสเตอร์ทั้งสั้นและยาว
        ซึ่งโรงงานในประเทศมาเลเซียได้เตรียมความพร้อมสำหรับการยกเลิกการกำหนดโควต้าส่งออกของสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในปี 2548 เพื่อให้แน่ใจว่าอุตสาหกรรมของประเทศมาเลเซียจะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  รัฐบาลมาเลเซียได้มีการส่งเสริมให้มีการวัดผลประสิทธิภาพในการผลิต  ความสามารถในการผลิต ในขณะที่มีการเน้นการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น  สำหรับโรงงานต่างๆเองกำลังมีการส่งเสริมให้มีการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพตลอดจนการลดต้นทุนในการผลิต  นอกจากนี้โรงงานต่างๆมีแนวคิดที่จะยกระดับสินค้าของตนเองให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นการขยายฐานของลูกค้าไปพร้อมกัน

ที่มา..
www.thaitextile.org/dataarticle/textile-outlook/sep-oct-45.doc

1 ความคิดเห็น: