วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT Analysis



Strength
อุตสาหกรรมผ้าผืนและด้ายของไทยมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นนำเกื้อหนุน ขณะเดียวกันก็มีอุตสาหกรรมปลายนำอย่างเสื้อผ้าสำเร็จรูปรองรับอยู่
ความร่วมมือภายในอุตสาหกรรมผ้าผืนและด้ายค่อนข้างดี มีการพัฒนาเทคนิคการผลิตและถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกันภายใต้กิจกรรมของสถาบันและสมาคมการค้าต่างๆ
ผู้ประกอบการผ้าผืนและด้ายของไทยได้รับการยอมรับด้านคุณภาพจากคู่ค้าในต่างประเทศ
Weakness
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ละเลยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองจึงยังต้องพึงพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ขาดบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะ อาทิ วิศวกร ช่างเทคนิค และนักออกแบบ
อุตสาหกรรมผ้าผืนและด้ายยังคงต้องพึงพาการนำเข้าวัตถุดิบบางชนิดจากต่างประเทศ อาทิ ฝ้าย ซึ่งการเพาะปลูกในประเทศไม่เพียงพอต่อการใช้
ผู้ผลิตบางรายของไทยยังเน้นแข่งขันด้านราคา ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งอย่างจีน อินเดีย และเกาหลีใต้ซึ่งผลิตสินค้าปริมาณมาก เนื่องจากมีตลาดขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศรองรับ
Opportunity
เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้ยอดจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อเนื่องทำให้มีความต้องการนำเข้าผ้าผืนและด้ายเพื่อนำไปผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
• AFTA ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมลดลงเหลือร้อยละ 0 ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกผ้าผืนและด้ายของไทย เนื่องจากประเทศในอาเซียนเป็นตลาดส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวสำคัญอันดับ 1 ของไทย
Threat
วิกฤตหนี้ของกรีซที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ใน EU อาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการส่งออกด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ของไทย
ราคาวัตถุดิบฝ้ายปรับสูงขึ้นจนปัจจุบันมาอยู่ที ระดับ 80 เซนต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40จากราคาเฉลี่ย  ปี 2552 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตผ้าผืนสูงขึ้น


ที่มา..
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/10303.pdf

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มการค้าและการผลิตของสินค้าสิ่งทอและเครื่องแต่งกายในตลาดโลก..

        ผลผลิตของสินค้าสิ่งทอจากสหรัฐอเมริกาลดลง 2.6% ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2545 ในขณะที่ผลผลิตของสินค้าเครื่องแต่งกายลดลง 7.4%  และการส่งออกของสหรัฐฯลดลง แม้ว่าค่าเงินสกุลดอลล่าร์จะอ่อนค่าลงแต่ความต้องการสินค้าจากตลาดในประเทศลดลงเช่นโดยผลกระทบต่อราคาเครื่องนุ่งห่มในประเทศให้ลดลงมาโดยตลอดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา   การนำเข้าของสหรัฐฯยังคงผันผวน โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศจีนเนื่องมาจากการจัดสรรโควต้าเพื่อการเปิดการค้าเสรี  นอกจากนี้ความความผันผวนของความต้องการและการแข่งขันจากประเทศจีนส่งผลกระทบต่อการส่งออกจากประเทศเม็กซิโกด้วย   สำหรับอุตสาหกรรมของประเทศอาร์เจนตินาได้รับผลกระทบด้วยแม้ว่าค่าเงินสกุลเปโซจะลดลง นอกจากนี้วิกฤตการณ์ในประเทศอาร์เจตินายังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศบราซิล  ยอดขายเพื่อการส่งออกของโคลัมเบียเพิ่มขึ้นในตลาดแอนเดียนแต่การส่งออกไปสหรัฐฯและสหภาพยุโรปกลับลดลง


ทิศทางสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศมาเลเซีย

        อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายในประเทศมาเลเซียมีการผลิตแบบครบวงจร ซึ่งได้แก่ การผลิตเส้นใยโพลิเมอร์ การผลิตเส้นใยประดิษฐ์ การปั่นด้าย การทอ การถัก การพิมพ์ การย้อม การตกแต่งสำเร็จและการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป  การส่งออกมีการเติบโตอย่างมีนัยตลอดมา  โดยในปี 2544  การส่งออกเส้นด้ายและผ้าผืนมีมูลค่า 4,011 ล้านดอลล่าร์มาเลเซีย ( 1,056 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)   ในขณะที่ยอดขายของเครื่องแต่งกายเติบโตถึง 7,868 ล้านดอลล่าร์มาเลเซียรัฐบาลมาเลเซียได้มีการพัฒนาสาธารณูปโภคซึ่งเป็นการดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน  ไม่ว่าจะเป็น บริษัท Penfabric Textile Group  ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของวงการในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทในเครือของประเทศญี่ปุ่น คือ บริษัท โทเร ซึ่งผลิต เส้นด้าย ผ้าผืนและเส้นใยโพลิเอสเตอร์สำหรับการผลิตเส้นด้าย  บริษัท Hualon ของประเทศไต้หวัน ซึ่งผลิตเส้นด้ายและผ้าผืนจากเส้นใยโพลิเอสเตอร์ทั้งสั้นและยาว
        ซึ่งโรงงานในประเทศมาเลเซียได้เตรียมความพร้อมสำหรับการยกเลิกการกำหนดโควต้าส่งออกของสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในปี 2548 เพื่อให้แน่ใจว่าอุตสาหกรรมของประเทศมาเลเซียจะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก  รัฐบาลมาเลเซียได้มีการส่งเสริมให้มีการวัดผลประสิทธิภาพในการผลิต  ความสามารถในการผลิต ในขณะที่มีการเน้นการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น  สำหรับโรงงานต่างๆเองกำลังมีการส่งเสริมให้มีการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพตลอดจนการลดต้นทุนในการผลิต  นอกจากนี้โรงงานต่างๆมีแนวคิดที่จะยกระดับสินค้าของตนเองให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นการขยายฐานของลูกค้าไปพร้อมกัน

ที่มา..
www.thaitextile.org/dataarticle/textile-outlook/sep-oct-45.doc

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Malaysia; مليسيا (มาเลย์)

การแต่งกายของชาวมาเลเซีย

       มาเลเซียเป็นชื่อใหม่ (เมื่อ .. 1963) ของประเทศมาลายู เมืองหลวง คือ กัวลาลัมเปอร์สหพันธ์มาเลเซียเป็นดินแดนที่มีชนหลายภาษาอาศัยรวมกัน เช่น มลายูแท้ จีน อินเดีย ปากีสถานยูเรเซียน ลังกา อินโดนีเซีย และชาวเขาการทอผ้าในมาเลเซียมีมากแถบกลันตัน และตรังกานู ซึ่งเป็นผ้าที่ทอโดยสอดไหมเงินและทองลงในเนื้อไหมตามแบบผ้าทอในอินเดีย พวกช่างทอผ้าในมาเลเซียเป็นพวกที่อพยพมาจากเกาะสุมาตรา

ผู้หญิง     นุ่งโสร่งปาเต๊ะสีสดมีลวดลายดอกดวงงาม สวมเสือ้คอยูแขนยาวถึงข้อมือปล่อยชายเสือ้ไว้นอกโสร่ง บางคนจะมีผ้าบาง คลุมศีรษะ คลุมไหล่ ชาวมาลายูชอบใช้เสือ้ผ้าสีสดใสมีลวดลาย ใบไม้ดอกไม้โต สลับสีกัน ชาวจีนแต่งกายแบบจีนเรียกว่า กี่เพ้าหรือฉ่งชำทำด้วยผ้าเป็นดอกดวง ฉูดฉาด
  
ผู้ชาย         นุ่งโสร่งเป็นตา และสวมเสือ้แขนยาว บางคนสวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ คนแก่มักมีผ้าห้อยไหล่



ที่มา..

                                   

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

" การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ "

การตลาดระหว่างประเทศ 


               คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
              
ปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดระหว่างประเทศ ( International Marketing) ประกอบด้วย


                   1. การค้นหา พิสูจน์ วิเคราะห์และวิจัย เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศธุรกิจที่ต้องการจะดำเนินการในตลาดระหว่างประเทศต้องค้นหา และวิจัยเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศให้ได้ หลังจากนั้นธุรกิจต้องทำความเข้าใจกับความต้องการของลูกค้าว่าธุรกิจมีความสามารถจะตอบสนองความต้องการนั้นหรือไม่ เพียงใด นอกจากนี้ธุรกิจจะต้องเข้าใจถึงลักษณะความเหมือนและลักษณะความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง รวมไปถึงธุรกิจต้องทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบอื่นๆ ของตลาดระหว่างประเทศที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการทางการตลาดของธุรกิจ
                 2.สร้างความพึงพอใจและความพยายามในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศหลังจากที่ธุรกิจสามารถค้นพบความต้องการของผู้บริโภคที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศได้แล้วสิ่งที่ธุรกิจต้องดำเนินการก็คือ ธุรกิจจะต้องค้นหาว่าธุรกิจจะสร้างคุณค่าจากการผลิตสินค้าและบริการอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการโดยธุรกิจจะต้องดำเนินการปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาดอะไรบ้าง ตลอดจนธุรกิจจะวางแผนการตลาดเพื่อให้สามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะไม่ลืมคือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศนั้นธุรกิจต้องสามารถสร้างผลกำไรได้ด้วยเพื่อธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไป
3. ขั้นตอนการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่งภายหลังที่ธุรกิจตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ ธุรกิจจะต้องพบกับการ แข่งขันทางด้านการตลาดที่รุนแรง โดยธุรกิจจะต้องแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่นที่ดำเนินธุรกิจอยู่เดิม ซึ่งธุรกิจท้องถิ่นดังกล่าวอาจเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เป็นธุรกิจที่มีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นเจ้าของหรือเป็นธุรกิจที่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ธุรกิจยังต้องแข่งขันกับธุรกิจข้ามชาติอื่นๆ ที่ต้องการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งธุรกิจข้ามชาติเหล่านี้มักเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีความพร้อมและมีความแข็งแกร่ง ดังนั้นธุรกิจที่จะต้องการจะดำเนินการทางการตลาดในตลาดระหว่างประเทศต้องมีความพร้อมและมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
4.ขั้นตอนการประสานงานการดำเนินการทางการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในตลาดระหว่างประเทศธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ ธุรกิจจะต้องสามารถปรับการดำเนินการทางด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่นธุรกิจจะต้องมีการจัดองค์กรใหม่หรือจัดรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ เนื่องจากในตลาดระหว่างประเทศนั้นธุรกิจจะต้องพบกับความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการด้านต่างๆ เช่นด้านการประสานงาน ด้านการบริหารงานของฝ่ายต่างๆ ด้านการทางการตลาด ด้านการคมนาคม ซึ่งความยุ่งและความซับซ้อนที่กล่าวมาจะทำให้ธุรกิจจะต้องมีการจัดองค์ประกอบให้มีความเหมาะสม
5. ขั้นตอนที่ธุรกิจต้องเรียนรู้และต้องทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น ความแตกต่างทางด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ความแตกต่างทางสภาพเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางการเมือง ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความแตกต่างของสภาพทางการตลาด ความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภค ความแตกต่างทางด้านปัจจัยพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและความแตกต่างของระบบการเงินการธนาคาร เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ธุรกิจระหว่างประเทศต้องเรียนรู้และสร้างความคุ้นเคยเพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดได้เหมาะสมและสามารถหลีกเลี่ยงการดำเนินการทางการตลาดที่ผิดพลาดซึ่งอาจจะส่งผลทางด้านลบต่อสินค้าและธุรกิจ




การค้าระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศหมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ


สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต  การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด  ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าต่ำลงไปด้วย

2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต  ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต  การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป  เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ



ที่มา...
www.ba.ru.ac.th/KM/.../การตลาดระหว่างประเทศ.doc